ข่าวประชาสัมพันธ์
ความรู้เรื่องโรคพิษสุนัขบ้า
- วันที่ 17 กันยายน 2562
- อ่าน 977 ครั้ง
ความรู้เรื่องโรคพิษสุนัขบ้า
ลักษณะโรค
เป็นโรคติดต่อที่มีอันตรายร้ายแรงจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมาสู่คน เมื่อมีอาการของโรคแล้วไม่มีทางรักษาได้
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้า (Rabies virus) ซึ่งจัดอยู่ในตระกูล (Family) Rhabdoviridae สกุล (Genus) Lyssavirus, ใน Rabies virus ยังแบ่งย่อยออกเป็นอีก 7 สายพันธุ์ (serotype) แยกย่อยได้ดังนี้ Typical Rabies, Lagos Bat virus, Mokola virus, Durenhage virus, EBL (European Bat Lyssavirus), EBL2 และ ABL (Australian Bat Lyssavirus)
วิธีการติดต่อ
เชื้อไวรัสในน้ำลายของสัตว์ที่เป็นโรคเข้าสู่ร่างกายผ่านแผลกัด ข่วน หรืออาจเข้าทางแผลซึ่งยังไม่หาย รอยถลอกขีดข่วนบนร่างกาย หรืออาจเข้าทางเยื่อชุ่มในปาก จมูกหรือตา ถึงแม้แยกเชื้อไวรัสนี้ได้จากน้ำลายผู้ป่วย แต่ไม่เคยมีรายงานการติดต่อโดยตรงระหว่างคนถึงคน มีรายงานพบผู้ป่วยจากการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา (Corneal Transplantation) จากดวงตาของผู้ที่ตายด้วยโรคนี้ (ซึ่งพิสูจน์ได้ในภายหลัง) นอกจากนี้ยังมีผู้รายงานว่าติดต่อได้โดยหายใจเอาไวรัสที่ปลิวฟุ้งอยู่ในอากาศที่มีความเข้มข้นของเชื้อสูง เช่น ในถ้ำค้างคาว ในประเทศสหรัฐอเมริกา
ระยะฟักตัว
ส่วนใหญ่เฉลี่ยในช่วง 1-3 เดือน อาจเร็วภายใน 7 วัน หรือช้ากว่านี้โดยอย่างมากไม่เกิน 1 ปี มีหลักฐานที่อาจจะยาวนานถึง 2 ปีครึ่ง ขึ้นกับตำแหน่งและลักษณะของบาดแผลว่ามีเส้นประสาทไปเลี้ยงมากหรือน้อย แผลอยู่ใกล้หรือไกลจากสมอง จำนวนเชื้อไวรัสที่เข้าไป
ระยะติดต่อ
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดสามารถแพร่เชื้อได้ โดยอาจพบเชื้อในน้ำลายประมาณ 3-5 วัน ก่อนปรากฏอาการ โดยเฉพาะค้างคาวนั้นอาจขับถ่ายเชื้อได้นานหลายเดือนโดยไม่ปรากฏอาการป่วย
อาการและอาการแสดง
อาการในคน
อาการนำ ได้แก่ ไข้ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ชา และเจ็บเสียวบริเวณแผลที่ถูกสัตว์กัดรวมทั้งบริเวณใกล้เคียง คันอย่างรุนแรงที่แผลถึงแม้แผลจะหายดีแล้ว และคันตามลำตัว
อาจแบ่งเป็น 2 กลุ่มอาการได้แก่
แบบคลุ้มคลั่ง เริ่มจากสติสัมปชัญญะยังปกติเริ่มกระวนกระวาย ไวต่อสิ่งเร้า เช่น แสง เสียง ลม แล้วเข้าสู่ภาวะสับสน (กระวนกระวายและสงบสลับกันเป็นระยะๆ) กลืนลำบาก ระบบประสาทอัตโนมัติผิดปกติทำให้เกิดอาการเหงื่อออกมาก น้ำตาไหล ขนลุก ม่านตาขยาย น้ำลายมาก หลั่งอสุจิโดยควบคุมไม่ได้ (Spontaneous spermateric) ก้าวร้าว ประสาทหลอน อาจมีอาการชัก หายใจหอบ (Hyperventilation) หมดสติ และเสียชีวิตในที่สุด
แบบอัมพาต เป็นอาการที่พบได้เป็นส่วนน้อยมีอาการผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติเช่นเดียวกับแบบแรกแต่เกิดล่าช้ากว่ยังพอมีสติสัมปชัญญะอยู่บ้าง เมื่อเทียบกับแบบแรกและกลุ่มอาการสมองอักเสบอื่นๆ มีอาการคล้าย Guillain-Barre syndrome (ซึ่งอาการนี้ส่วนใหญ่จะไม่มีไข้) มีอาการอัมพาตของแขนขา ไม่มี Deep tendon reflex กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ การอ่อนแรงจะเริ่มจากบริเวณแขน ขา ที่ถูกกัดไปสู่แขนขาอื่นๆ ความรู้สึกตอบสนองต่อความเจ็บปวดลดลง มี Myoedema ซึ่งแสดงได้โดยการเคาะบริเวณที่อก กล้ามเนื้อหัวไหล่และต้นขา ซึ่งบริเวณที่ถูกเคาะจะมีรอยนูนแล้วจะหายไปภายในเวลา 2-3 วินาที พูดไม่ชัด กลืนลำบาก น้ำลายมาก อาการกลัวลม กลัวน้ำ พบได้ประมาณร้อยละ 50 ของผู้ป่วย หลังจากแสดงอาการจะมีชีวิตอยู่ได้นานกว่าแบบแรก
อาการในสัตว์
หลังจากที่สัตว์ได้รับเชื้อเข้าไปแล้วระยะฟักตัวของโรคในสัตว์ชนิFต่างๆ อาจแตกต่างกันอยู่บ้าง โดยทั่วไปในสุนัขจะอยู่ระหว่าง 3-8 สัปดาห์ ระยะฟักตัวของโรคนี้จะเร็วขึ้นหรือช้าลง ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของบาดแผลและตำแหน่งของบาดแผลที่เชื้อเข้าสู่ร่างกาย หากบาดแผลรุนแรงและอยู่ใกล้สมอง ช่วงระยะฟักตัวของโรคมักสั้นกว่าตำแหน่งของบาดแผลที่อยู่ที่อวัยวะส่วนปลายเมื่อพ้นระยะฟักตัวของโรคแล้ว สัตว์ที่เป็นโรคจะแสดงอาการให้เห็น ซึ่งอาการในสัตว์แต่ละชนิดอาจแตกต่างกันไปบ้าง แต่อาการที่เป็นรูปแบบชัดเจนที่สุด ได้แก่ อาการในสุนัข และสามารถนำไปเทียบเคียงให้เห็นความแตกต่างกับอาการของสัตว์ชนิดอื่นได้ อาการของโรคพิษสุนัขบ้าในสุนัขแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ คือ
อาการนำ (Prodromal Phase)
เป็นอาการเปลี่ยนแปลงอุปนิสัยและพฤติกรรมที่เคยเป็นอยู่ไปในทางที่ตรงกันข้ามกับปกติ จะสามารถสังเกตเห็นได้ง่ายถ้าอยู่ใกล้ชิดกับสุนัขที่เลี้ยงไว้สม่ำเสมอ อาการเริ่มแรกที่พบ ถ้าเป็นสุนัขที่เคยร่างเริงแจ่มใสชอบคลุกคลีเคล้าเคลียกับเจ้าของ มักจะมีอาการหงุดหงิด ไม่อยากเข้าใกล้ หลบซุกซ่อนตัวอยู่ตามมุมมืดต่างๆ และหากพยายามนำออกมาจากที่ซ่อน มักแสดงอาการเห่า หรืองับอย่างไม่พอใจ ส่วนสุนัขที่ปกติเคยหวาดระแวง หวาดกลัว กลับมีความกล้าเพิ่มมากขึ้น และหากสังเกตใกล้ชิดในบางรายจะพบว่า ม่านตาขยายกว้างปกติ มีการตอบสนองต่อแสงลดลง สุนัขจะแสดงอาการระยะเริ่มแรกนี้ 2-3 วัน
อาการระยะตื่นเต้น (Excitative Phase)
เป็นอาการของโรคระยะถัดมาที่เห็นชัดเจนที่สุด เมื่อผ่านพ้นอาการนำแล้ว จะมีอาการลุกลี้ลุกลนกระวนกระวานมากขึ้น พยายามจะหลบหนีออกจากบ้านหรือที่อยู่เดิม หากหลบหนีออกมาได้จะวิ่งอย่างไม่มีจุดหมาย มักแสดงอาการแปลกๆ เช่น งับลมหรือกัดกินสิ่งแปลกปลอมต่างๆ เช่น ก้อนอิฐ ก้อนหิน ดิน หญ้า หรือแม้แต่เศษไม้ มักกัดทุกสิ่งที่ขวางหน้าเป็นอาการของความบ้าคลั่งอย่างเด่นขัด หากจับกักขังจะกัดกรงอย่างรุนแรงจนเกิดบาดแผลที่ปาก หรือฟันหักโดยไม่แสดงความเจ็บปวด เสียงเห่าหอนจะผิดไปเนื่องจากเกิดอัมพาตของกล้ามเนื้อกล่องเสียง ต่อมาจะเกิดอัมพาตของกล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการเคี้ยวและการกลืน ทำให้ลิ้นห้อยออกนอกปากน้ำลายไหล ลิ้นมีสีแดงคล้ำ หรือมีร่องรอยของความบอบช้ำ หรือมีสิ่งแปลกปลอมติดอยู่ที่ลิ้น ระยะต่อมาลำตัวจะแข็ง หางตก ขาหลังเริ่มอ่อนเปลี้ย ซึ่งเป็นอาการที่เริ่มเข้าสู่ระยะอัมพาต สุนัขจะแสดงอาการระยะตื่นเต้นอยู่ 1-7 วัน
อาการระยะอัมพาต (Paralysis Phase)
เป็นอาการระยะสุดท้ายของอาการของโรค สุนัขที่แสดงอาการตื่นเต้นและ/หรือดุร้ายชัดเจน อาการของระยะอัมพาตจะสั้นถึงสั้นมาก กล่าวคือ เมื่อเริ่มแสดงอาการขาหลังอ่อนเปลี้ยแล้ว ในที่สุดจะล้มลงลุกไม่ได้ อัมพาตที่เกิดขึ้นจะแผ่ขยายจากส่วนท้ายของลำตัวไปยังส่วนหัวอย่างรวดเร็ว ทำให้ตายด้วยการเกิดอัมพาตของระบบหายใจ ส่วนรายที่ไม่สังเกตเป็นอาการระยะตื่นเต้นชัดเจน หรือพบในช่วงระยะที่สั้นมาก อาจแสดงอาการระยะอัมพาตยาวนานขึ้น ในกรณีเช่นนี้จะสังเกตเห็นสุนัขมีอาการซึม ปากอ้า คางห้อยตก ลิ้นห้อยยาวออกนอกปาก น้ำลายไหลมาก มักไม่กัดผู้คนและมักแสดงอาการอยู่ 2-4 วัน แล้วอัมพาตจะแผ่ขยายทั่วตัว ทำให้ตายด้วยการเกิดอัมพาตขอระบบหายใจเช่นเดียวกัน สุนัขที่แสดงอาการของโรคพิษสุนัขบ้าทั้ง 3 ระยะดังกล่าวนี้ ตั้งแต่เริ่มสังเกตเห็นอาการมักอยู่ได้ไม่เกิน 10 วัน สุนัขที่แสดงอาการระยะตื่นเต้นชัดเจน มักเรียกกันว่า ?บ้าแบบดุร้าย? หรือ Furious Rabies? ซึ่งเป็นอาการที่พบเห็นได้มากกว่า ?บ้าแบบซึม หรือ Dumb Rabies?
ระบาดวิทยาของโรค
จากการวิเคราะห์รายงานการสอบสวนเฉพาะรายผู้เสียชีวิตโรคพิษสุนัขบ้า ระหว่างปี พ.ศ. 2540-2544 ผู้เสียชีวิตทั้งหมด 271 คน จำแนกตามสถานที่ที่รับเชื้อ พบว่า ภาคกลางมีผู้ป่วย/ตาย สูงที่สุด คือ 23 จังหวัด จำนวน 150 ราย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 13 จังหวัด 61 ราย ภาคใต้ 10 จังหวัด 28 ราย และภาคเหนือ 9 จังหวัด 32 รายเมื่อวิเคราะห์ตามสถานที่รับเชื้อจังหวัดที่มีจำนวนผู้ป่วย/ตายสูง 8 ลำดับแรกพบว่า กรุงเทพมหานครมีจำนวนสูงสุด และรองลงไปตามลำดับ ได้แก่ นครราชสีมา ชลบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ บุรีรัมย์ ราชบุรี สงขลา สุรินทร์ นครศรีธรรมราช และพระนครศรีอยุธยา ในจำนวนนี้บางจังหวัดมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้าติดต่อกันเป็นเวลา 3 ปี ฤดูกาลที่พบผู้ป่วย/ตาย พบว่า เกิดขึ้นทุกเดือนในรอบปี แต่พบสูงที่สุดในเดือนมกราคม ส่วนฤดูกาลที่ผู้เสียชีวิตได้รับเชื้อพิษสุนัขบ้าเกิดขึ้นทุกเดือนในรอบปี โดยพบมากที่สุดในเดือนธันวาคมสูงถึง 29 ราย รองลงมาคือเดือนกันยายน 25 ราย และเดือนมีนาคม 23 ราย
ลักษณะการกระจายของกลุ่มอายุและเพศของผู้ป่วย/ตาย พบว่า เป็นเพศชาย 184 ราย เพศหญิง 87 ราย คิดเป็นอัตราส่วนชาย : หญิง เท่ากับ 2.1:1 (1 ปี ? 77 ปี) เป็นที่น่าสังเกตว่าผู้ป่วยตายส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี มีจำนวน 93 ราย (ร้อยละ 34.32) โดยกลุ่มอายุ 15 - 24 ปี มีจำนวน 34 ราย อายุ 25 - 34 ปี จำนวน 30 ราย อายุ 35 - 44 ปี จำนวน 34 ราย อายุ 45 - 54 ปี จำนวน 36 ราย อายุ 55 - 64 ปี จำนวน 23 ราย กลุ่มอายุ 65 ปี ขึ้นไป จำนวน 21 ราย มัธยฐานอายุ (Median) 27 ปี เมื่อคิดเป็นอัตราตายต่อแสนประชากรจะพบว่าผู้ป่วย/ตาย สูงอยู่ใน 2 กลุ่มอายุ คือ กลุ่มอายุ 55 - 64 ปี และกลุ่มอายุ 65 ปี ขึ้นไปเสียชีวิตทั้ง 271 ราย ได้รับเชื้อพิษสุนัขบ้าจากสุนัข 223 ราย ในจำนวนนี้เป็นลูกสุนัขที่มีอายุต่ำกว่า 3 เดือน 32 ราย (ร้อยละ 14.35) สุนัขโต 191 ราย (ร้อยละ 85.65) ได้รับเชื้อพิษสุนัขบ้าจากแมว 13 ราย ในจำนวนนี้เป็นแมวที่มีอายุต่ำกว่า 3 เดือน เพียง 1 ราย ได้รับเชื้อพิษสุนัขบ้าจากชะมด 2 ราย ที่เหลืออีก 33 ราย มีเพียงประวัติชอบเล่นคลุกคลีใกล้ชิดกับสัตว์แต่ไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าได้รับเชื้อพิษสุนัขบ้าจากสัตว์ชนิดใด
จากจำนวนสัตว์ทั้ง 238 ตัว ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าในคนในรอบ 5 ปีนี้ เป็นสัตว์ที่ไม่มีเจ้าของ 148 ตัว (ร้อยละ 62.20) ส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า หรือไม่ทราบประวัติการฉีดวัคซีนที่แน่นอน เป็นสัตว์มีเจ้าของ 90 ตัว (ร้อยละ 37.80) ในจำนวนนี้ไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีน 86 ตัว (ร้อยละ 95.60) มีประวัติการได้รับการฉีดวัคซีนเพียง 4 ตัว (ร้อยละ 4.4) แต่ไม่ได้รับวัคซีนเป็นประจำทุกปี มีบางตัวได้รับวัคซีนภายหลังจากที่ถูกสุนัขตัวอื่นที่มีอาการคล้ายสุนัขบ้ากัดแล้ว
รายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับลักษณะของสัตว์ที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าในคน สามารถจำแนกเป็นรายปีได้ระยะฟักตัวของโรค สั้นที่สุด 7 วัน นานที่สุด 2462 วัน (6ปี 9 เดือน 2 วัน) โดยมีค่ามัธยฐาน(Median) 74 วัน ช่วงเวลาที่แสดงอาการ สั้นที่สุด 1 วัน สูงสุด 29 วัน โดยมีค่ามัธยฐาน (Median) 3 วัน
สาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้เสียชีวิตเหล่านั้นไม่ได้รับวัคซีนและ/หรืออิมมูโนโกลบุลิน ป้องกันโรคหลังสัมผัสเชื้อซึ่งพบว่า ผู้เสียชีวิตที่ถูกกัดส่วนใหญ่ไม่ตระหนักถึงอันตรายของโรคพิษสุนัขบ้า คิดว่าเป็นบาดแผลทั่ว ๆ ไป จึงละเลยไม่ใส่ใจต่อการฉีดวัคซีนป้องกันโรค
การรักษา
ไม่มีวิธีรักษาเฉพาะ มีแต่เพียงรักษาประคับประคอง และรักษาตามอาการ ถ้าแสดงอาการแล้วผู้ป่วยจะเสียชีวิตทุกราย
กรณีผู้สัมผัสโรคที่ยังไม่มีอาการ ให้ดูแลตาม ? คู่มือการให้ภูมิคุ้มกันป้องกันโรคของกระทรวงสาธารณสุข?
การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ประเทศไทยมีเครือข่ายการตรวจวินิจฉัย มีดังนี้
สถานที่รับตรวจหัวสัตว์เพื่อชันสูตรโรคพิษสุนัขบ้า
กรุงเทพมหานคร
ภาคกลาง
ภาคตะวันออก
ภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคใต้
n สถานเสาวภา สภากาชาดไทย ถนนอังรีดูนังต์ ปทุมวัน กทม. โทร (02) 2520161-4 ต่อ 127
n คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล (ภาควิชาจุลชีววิทยา) โทร. (02) 4113111, (02) 4110263
n สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นนทบุรี โทร.(02) 5899850-8 ต่อ 9205 หรือ 9312
n สำนักงานปศุสัตว์ เขต 1 จังหวัดปทุมธานี โทร. (02) 5013178 ต่อ 209
n สำนักงานปศุสัตว์ เขต 7 จังหวัดนครปฐม โทร. (034) 205982
n สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดชัยนาท โทร. (056) 411381
n ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 2 จังหวัดชลบุรี โทร. (038) 286478,272363,783767
n โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี (งานไวรัส และภูมิคุ้มกัน) โทร. (039) 314747
n สำนักงานปศุสัตว์ เขต 2 จังหวัดฉะเชิงเทรา โทร.(038) 814234
n ศูนย์วิจัย และชันสูตรโรคสัตว์ภาคตะวันออก อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี โทร.(038) 742116-20
n ศูนย์วิจัย และชันสูตรโรคสัตว์ ภาคเหนือ อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง โทร.(054) 221478
n คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ (ภาควิชาพยาธิวิทยา) โทร. (053) 945442-4
n สำนักงานปศุสัตว์ เขต 5 จังหวัดเชียงใหม่ โทร. (053) 892458
n สำนักงานปศุสัตว์ เขต 6 จังหวัดพิษณุโลก โทร. (055) 282881
n สำนักงานปศุสัตว์ จังหวัดกำแพงเพชร โทร. (055 ) 711450
n สำนักงานปศุสัตว์ จังหวัดเพชรบูรณ์ โทร. (056 ) 720761
n ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 148 หมู่ 3 ต. นางแล อ. เมือง จังหวัดเชียงราย 57100
โทร. (053) 793149-50 , 702407, (02 ) 5899850-9 ต่อ 9880
n ศูนย์วิจัยและชันสูตรโรคสัตว์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ท่าพระ จังหวัดขอนแก่น โทร.(043) 261246
n ศูนย์วิจัยและชันสูตรโรคสัตว์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ตอนล่าง) จังหวัดสุรินทร์ โทร. (044) 518755
n สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสกลนคร โทร. (042) 711156
n สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดบุรีรัมย์ โทร. (044) 611988
n สำนักงานปศุสัตว์ เขต 3 จังหวัดนครราชสีมา โทร. (044) 371212
n สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดอุดรธานี โทร. (042) 221572
n สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดกาฬสินธุ์ โทร. (043 ) 811535
n สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดศีรษะเกษ โทร.(045) 611937
n สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดชัยภูมิ โทร. (044) 812334
n สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดอำนาจเจริญ โทร. (045) 511920
n ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ขอนแก่น โทร. (043) 242871-3,242845
n ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 3 จังหวัดนครราชสีมา โทร. (044) 241522, 258713 ต่อ 116, (044) 295869
n ศูนย์วิจัย และชันสูตรโรคสัตว์ภาคใต้ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช โทร. (075) 538035-6,363423-4 ต่อ 100
n สำนักงานปศุสัตว์ เขต8 จังหวัดสุราษฎร์ธานี โทร. (077) 281308 ต่อ 101-103
n สำนักงานปศุสัตว์ เขต 9 จังหวัดสงขลา โทร. (074) 324406
n ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 1 จังหวัดสงขลา โทร. (02) 5899850-9 ต่อ 9870, (074) 333809, 333203-4,447024-8
n ศูนย์ปฏิบัติการโรคทางสมอง
ตึก อปร 11 ห้อง 1110-1 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ถนนราชดำริ กทม. 10330 โทร. (02) 256-4333 ต่อ 3573 เพื่อตาม นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หรือ pager ของศูนย์
กรณีฉุกเฉินติดต่อ พนักงานรับโทรศัพท์ รพ.จุฬาลงกรณ์ (02) 256-4333
1500-401586
ให้แจ้ง ชื่อ-ที่อยู่ที่ต้องการให้ส่งผล (สำหรับจ่าหน้าซอง)
n สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
88/7 ซอย โรงพยาบาลบำราศนราดูร ถนนติวานนท์ นนทบุรี
โทร.(02) 5899850-8,(02) 951-0000 ต่อ 9205,9312
การเก็บตัวอย่างจากคน
? ในกรณีที่ผู้ป่วยยังมีชีวิตอยู่ ควรเก็บตัวอย่างอันได้แก่ น้ำลาย น้ำไขสันหลัง ปัสสาวะ น้ำเหลือง (serum) ปมรากผม และผิวหนังบริเวณท้ายทอย ซึ่งควรทำทุกวัน เนื่องจากไวรัสจะไม่พบในสิ่งคัดหลั่งตลอดเวลา
? ในกรณีที่ผู้ป่วยเสียชีวิตแล้ว ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการเก็บเนื้อสมองส่งตรวจ ถ้าไม่สามารถทำการตรวจชันสูตรศพได้อาจทำการเจาะผ่านเบ้าตาโดยใช้เข็ม Tru cut (ซึ่งเป็นเข็มที่ใช้ในการทำ Liver biopsy) โดยปักเข็มเข้าทางมุมหัวตา โดยให้เข็มตั้งฉากกับพื้น เมื่อกดเข็มลง ตัวเข็มจะค่อย ๆ เคลื่อนไปทางด้านข้างจนผ่านเข้า superior orbital fissure และผ่านเข้าในเนื้อสมอง หลังจากนั้นเคลื่อนเข้มเข้าไปให้ลึกตามความต้องการในทิศทางต่าง ๆ กันและตัดชิ้นเนื้อออก ด้วยวิธีดังกล่าวจะไม่เสียสภาพศพ แต่อาจจะมีเลือดหรือน้ำหล่อเลี้ยงสมองซึมจากหัวตาออกมาบ้าง ขณะทำการเจาะดังกล่าว ต้องระวังการกระเด็นและปนเปื้อนมายังตนเอง และบุคลากรใกล้เคียง กรณีที่สามารถตรวจศพได้ให้เก็บสมองส่วน brainstem, cerebellum, spinal cord ส่วนต้น (cerical) และ hippocampus
การเก็บตัวอย่างจากสัตว์
? ถ้าเป็นสัตว์เล็ก เช่น กระรอก กระตาย แมว ส่งได้ทั้งตัว ถ้าเป็นสัตว์ใหญ่ เช่น สุนัข หมู วัว ควรตัดเฉพาะส่วนหัวชิดท้ายทอย ระหว่างกะโหลกศีรษะกับกระดูกคอ
? ผู้ที่ตัดต้องไม่มีบาดแผลที่มือ สวมถุงมือยางหนาชนิดที่กันน้ำได้ ถ้าไม่มีอาจใช้ถุงพลาสติก 2 ชั้นสวมมือแทน จากนั้นใช้มีด หรือใบมีดโกนคมๆตัดหัวสัตว์ ถ้าถุงพลาสติกขาดระหว่างตัดหัวให้ล้างมือด้วยน้ำสะอาด และสบู่หลายๆ ครั้ง หากมีดหรืออุปกรณ์ที่ใช้ตัดหัวสัตว์ต้องการเก็บไว้ใช้ต่อ ต้องทำลายเชื้อด้วยวิธีต้มในน้ำเดือดนาน 10 นาที
? นำสัตว์หรือหัวสัตว์ใส่ถุงพลาสติกหนาๆ อย่างน้อย 2 ชั้น รวบปากถุงปิดพับรัดด้วยยางให้แน่น แล้วห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์หนาๆ ใส่ถุงพลาสติกหนา รวบปากถุงปิดพับ รัดด้วยยางให้แน่นใสในกล่อง หรือกระติกน้ำแข็ง (พลาสติก, โฟม หรือโลหะ) ที่มีน้ำแข็งรองอยู่ก้นถังประมาณ ? เทน้ำแข็งกลบทับให้มากพอ แล้วปิดฝา เพื่อรักษาตัวอย่างไม่ให้เน่า (ห้ามแช่แข็ง ห้ามแช่น้ำยาฟอร์มาลีน)
? ซากสัตว์ ถุงมือยาง หรือถุงพลาสติก ให้ทำลายโดยวิธีเผา หรือฝังลึกอย่างน้อย 50 ซม.
? ห้ามแช่ตัวอย่างส่งตรวจในฟอร์มาลีน เพราะจะทำให้ตรวจโดยวิธี FA และฉีดหนูไม่ไห้
? รีบนำส่งโดยวิธีที่สะดวก และรวดเร็วที่สุดภายใน 24 ชั่วโมง ไปยังสถานที่ส่งตรวจ
? การกรอกข้อมูลในแบบส่งตัวอย่างโดยละเอียดเกี่ยวกับประวัติสัตว์ และการถูกกัดเพื่อเป็นข้อมูลประกอบ และกรอกที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ และหมายเลขโทรสาร ของผู้ที่ต้องการผลการชันสูตรที่สามารถติดต่อได้เร็วที่สุด
? ควรนำส่งด้วยตนเอง แต่ถ้าจำเป็นอาจส่งโดยเครื่องบินโดยแจ้งเวลาเที่ยวบิน และหมายเลขใบส่งของ หรือโดยรถยนต์หรือรถทัวร์โดยแจ้งชื่อบริษัท สถานีจอดและเวลาที่จะถึง ห้ามนำส่งโดยรถไฟหรือทางไปรษณีย์ เพราะสมองจะเน่าตรวจไม่ได้
ในการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการให้ใช้แบบฟอร์มส่งตรวจตัวอย่าง
หมายเหตุ การตรวจทางห้องปฏิบัติการ มีจุดประสงค์เพื่อช่วยยืนยันการวินิจฉัยโรคของแพทย์ เนื่องจากมีโรคอื่นๆ ที่แสดงอาการคล้ายกัน และนอกจากนั้นแล้วยังมีรายงานพบผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้าที่มีอาการแตกต่างจากเกณฑ์กำหนดเดิมซึ่งอาจทำให้การวินิจฉัยตามอาการผิดพลาดได้ การเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการในขณะผู้ป่วยมีชีวิตอยู่จะช่วยป้องกันโอกาสแพร่กระจายเชื้อ การเก็บตัวอย่างเนื้อสมองส่งตรวจภายหลังจากผู้ป่วยเสียชีวิตเป็นการสนับสนุนข้อมูลทางระบาดวิทยา ทำให้ทราบสถานการณ์ที่แท้จริงของผู้ป่วยตายด้วยโรคพิษสุนับบ้าในประเทศไทย ทั้งนี้ต้องระมัดระวังโดยไม่ใช้ข้อมูลทางห้องปฏิบัติการเพียงอย่างเดียว โดยไม่พิจารณาถึงประวัติลักษณะอาการของผู้ป่วย เนื่องจากข้อมูลทางห้องปฏิบัติการอาจให้ผลผิดพลาดได้ ขึ้นกับคุณภาพและชนิดของสิ่งส่งตรวจ วิธีการตรวจ ความชำนาญและประสบการณ์
มาตรการในระยะระบาด ระหว่างการสอบสวนโรค
- จัดตั้งทีมสอบสวน/หน่วยเคลื่อนที่เร็วดำเนินการควบคุมโรค ซึ่งประกอบด้วย สาธารณสุขอำเภอ หรือผู้แทนในเรื่องคน ปศุสัตว์อำเภอ หรือผู้แทนในเรื่องสัตว์ เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยที่อยู่ในพื้นที่ที่เกิดเหตุ เจ้าหน้าที่สำนักงานเทศบาล/ อบต. ในพื้นที่ที่เกิดเหตุ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจากโรงพยาบาลชุมชน
- ต้องรีบดำเนินการสอบสวนโรคโดยด่วน แบบเจาะลึก เพื่อให้ทราบสาเหตุ (แหล่งต้นตอ)ของโรคพิษสุนัขบ้าที่ชัดเจน กรณีพบว่ามีผู้สงสัยว่าเป็นโรคให้รีบเข้าไปสอบสวนโรคขณะที่ผู้ป่วยยังมีชีวิตอยู่
- ประสานงานแจ้งผู้เกี่ยวข้องให้ทราบผลการสอบสวน หากพาดพิงพบว่ามีการนำสัตว์ต้นเหตุหรือถูกกัดมาจากพื้นที่ใด ให้มีการประสานงานแจ้งพื้นที่นั้น เพื่อให้มีการควบคุม หรือเฝ้าระวังโรคไม่ให้แพร่ระบาดได้
- ดำเนินการติดตามหาผู้สัมผัสหรือสงสัยว่าสัมผัสโรคเพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องครบถ้วน
- ดำเนินการควบคุมโรคในสัตว์นำโรคในพื้นที่ที่เกิดโรคโดยด่วน ทั้งนี้จะต้องมีการทำ Ring Vaccination โดยรอบพื้นที่นั้น หรือพื้นที่ท